ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งจากประเทศที่มีรายได้ต่ำในช่วงทศวรรษปี 80 กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงในปี 2554 ประเทศไทยจะสามารถเติบโตในอัตราที่เร็วกว่าที่เป็นอยู่เพื่อมุ่งสู่ความเป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้อย่างไรประเทศที่สามารถก้าวกระโดดไปสู่ระดับรายได้สูงในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา เช่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน ล้วนแล้วแต่คงการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยที่เกินกว่าร้อยละ 5 มาเป็นเวลา 20 ปีขึ้นไปแล้วประเทศไทยจะสามารถดำเนินรอยตามประเทศเหล่านั้นได้หรือไม่? ช่างเป็นคำถามที่ตอบได้ยากยิ่ง จริงๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามแรกในจำนวนทั้งหมด 3 คำถามที่ผมอยากจะกล่าวถึงในวันนี้ คำถามที่สองคือ จะทำอย่างไรให้ความเจริญของประเทศไทยเป็นไปอย่างทั่วถึงมากขึ้น? ระดับความยากจนของประเทศไทยลดต่ำลง ในปี 2543 คนไทยร้อยละ 20 ใช้จ่ายไปกับของจำเป็นในชีวิตประจำวันน้อยกว่าเส้นแบ่งความยากจนของชาติ ในปี 2553 มีคนไทยเพียงร้อยละ 10 ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนดังกล่าว
สภาวะความไม่เสมอภาคก็ลดต่ำลงด้วยเช่นกัน คนไทยที่ได้ประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ที่วัดความเหลื่อมล้ำทางการบริโภคในประเทศไทยลดต่ำลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จากร้อยละ 42 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 39 ในปี 2553 นี่คือข่าวดีความท้าทายก็คือ ความไม่เท่าเทียมกันยังคงมีอยู่สูง ความเหลื่อมล้ำทางการบริโภคในอัตราเกือบร้อยละ 40 นั้นถือว่าสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานนานาชาติ แม้ว่าความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้ของประเทศไทยจะลดต่ำลง แต่อัตราร้อยละ 52 ในปี 2553 ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในบรรดาประเทศในเอเซียตะวันออกแล้วจะต้องทำอย่างไรประเทศไทยจึงจะสามารถลดความไม่เท่าเทียมกันให้มากกว่านี้ เพื่อที่คนไทยทุกคนจะได้ประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ? ผมเชื่อว่าการพัฒนาการศึกษาและทักษะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นและทั่วถึงขึ้นในระยะยาว ในประเทศไทย ประเด็นหลักๆ คืออัตราการใช้พลังงานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการขนส่ง ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราส่วนของปริมาณพลังงานที่ใช้ในภาคการขนส่งสูงที่สุดในโลกในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ผลิตน้ำมันเอง ซึ่งสูงเป็นสองเท่าของประเทศจีนและกว่าสามเท่าของเกาหลีใต้และญี่ปุ่น