การเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจเมื่อไทยเข้าสู่อาเซียน


อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการดำเนินงานให้ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้านคือ
 1.  การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้านเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดเป้าหมายเวลาที่จะค่อยๆ ลดหรือยกเลิกอุปสรรคระหว่างกันเป็นระยะ ทั้งนี้่ กำหนดเป้าหมายให้ลดภาษีสินค้าเป็น 0% และลดหรือเลิกมาตราการที่มิใช่ภาษี สำหรับประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศภายในปี 2553 เปิดตลาดภาคบริการและเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2558 และเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553
2.  การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน)
3.  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ เช่น ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration-IAI) เป็นต้น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก
4.  การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภานนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรีีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

ธุรกิจไทยต้องเข้าไปแข่งขันในต่างประเทศ
สำหรับนักลงทุนไทยทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการไปลงทุน หรือทำมาค้าขายในต่างประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องช่วยให้ความรู้ ให้การสนับสนุน รวมทั้งขจัดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเข้าสู่แหล่งทุนนอกประเทศ ความรู้ทางระเบียบ ข้อกฎหมายต่างๆ ความรู้ด้านภาษี การคุ้มครองสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักลงทุนไทย ทั้ง 2 กรณีข้างต้น ภาครัฐควรร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จัดให้มีศูนย์ที่ให้คำปรึกษาในการปรับตัวของธุรกิจก่อนเข้าสู่ AEC และการทำการค้า การลงทุนในต่างประเทศด้วย ศูนย์ให้คำปรึกษานี้ จึงเป็นหน่วยงานที่มีสถานะมากกว่าการให้ข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่จะสามารถให้คำแนะนำ ประสานงาน และการช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนทั้งในและนอกประเทศด้วย

ดังนั้นการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นเรื่องที่เรามองข้ามไปไม่ได้ การปฏิบัติตามข้อตกลงในกรอบ AEC ถือเป็นการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจไทย แต่คงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจไทยมีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะโจทย์ที่ผมเสนอไว้ว่า ทำอย่างไรประเทศไทยจะสามารถก้าวไปให้ไกลกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพราะหนทางเดียวที่จะรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ มีคุณภาพ การออกแบบที่ทันสมัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ หากต้องการให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลุ่ม SME ลงมาจนถึงอุตสาหกรรมพื้นบ้านของไทยเรา มีอนาคตที่สดใส

This entry was posted in ธุรกิจ and tagged . Bookmark the permalink.