ความสัมพันธ์ของธุรกิจเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ


ลักษณะทั่วไปและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันและมีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการเป็นพื้นฐาน และเพื่อขวานขวายให้ได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ สำหรับมาบำบัดความต้องการของตนเองและครอบครัว จึงก่อให้เกิดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นธุรกิจขึ้น ธุรกิจจึงเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งเพื่อจะบำบัดหรือสนองความต้องการของมวลมนุษย์  ธุรกิจเป็นพลังผลักดันที่ครอบคลุมไปทั่วสังคมของมนุษย์ เป็นที่ก่อให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน เป็นแหล่งที่ใช้ทรัพยากรมากที่สุด เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้และภาษีอากร ซึ่งแต่ละปัจจัยดังกล่าวนี้มีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและ สังคม

ความสำเร็จของธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของมนุษย์ตลอดจน สุขภาพและความคิดอ่าน เพราะพลังคนเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการ อย่างไรก็ตามธุรกิจต่าง ๆ นั้นมิได้ตั้งขึ้นแต่เพียงเพื่อแสวงหากำไรเท่านั้น หากยังได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยการจัดให้มีสินค้าและบริการสนองตอบความ ต้องการของสังคมด้วย

ประโยชน์ของธุรกิจ
ธุรกิจมีประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ ดังนี้
1.  ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
เพื่อ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้าน เป็นต้น
2.  ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
องค์กร ธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าแล้วย่อม ต้องการขายหรือจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค จึงต้องมีธุรกิจอื่นมาทำหน้าที่กระจายสินค้าเหล่านั้น เช่น มีระบบคนกลาง ได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า  มีระบบการขนส่ง การคลังสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ
3.  เกิดการจ้างงาน
ธุรกิจต้องจ้างบุคคลเข้ามาทำงาน ทำให้ช่วยลดปัญหาการว่างงานและปัญหาทางสังคมด้วย
4.  ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น
ประชาชน มีงานทำและมีรายได้จากองค์กร ธุรกิจ  ทำให้มีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น เกิดมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นด้วย
5.  สร้างรายได้ให้กับรัฐ
การเสียภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของธุรกิจให้กับรัฐบาล ทำให้รัฐบาลมีเงินไปพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน
6.  เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
มี เครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิต สินค้า  มีเครื่องมือสื่อสารที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต  เป็นต้น
7.  ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี  เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถนำออกไปจำหน่ายต่างประเทศ   ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น   เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้น

บทบาทของธุรกิจต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ
1.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  (ผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการที่ดี)
2.  พัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า  (คนมีงานทำ  มีสินค้าและบริการครบครัน)
3.  สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ   (สร้างรายได้ให้ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป)

This entry was posted in ธุรกิจ and tagged , . Bookmark the permalink.